ประเด็นท้าทาย
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
หากกล่าวถึงการจัดการเรียนรู้ในเรื่อง การพัฒนาโครงงาน มักจะพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างยาก มีความยุ่งยากและซับซ้อนในการจัดทำโครงงาน มีความกังวลใจในการเรียนและมักจะไม่สนใจในเนื้อหาส่วนนี้ เมื่อได้รับมอบหมายงานจากครูผู้สอน นั่งเรียนส่วนใหญ่จะทำการลอกข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาส่งครู โดยไม่เข้าใจถึงกระบวนการและขั้นตอนของการจัดทำโครงงาน ซึ่งครูผู้สอนได้พยายมค้นคว้า หากระบวนการจัดการเรียนที่เหมาะสมกับนักเรียนและให้นักเรียนได้ฝึกทักษะครบถ้วนตามกระบวนการทำโครงงาน โดยครูผู้สอนมีความสนใจกระบวนการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้สอนจึงสนใจที่จะพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดวิเคราะห์และลงมือปฏิบัติ ทักษะการศึกษาค้นคว้าพัฒนาตนเองและทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning มาออกแบบการเรียนรู้ให้เกิดความรู้ที่สัมพันธ์กัน ทั้งมิติการคิดวิเคราะห์ (Knowledge) มิติค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม (Attitude) และ มิติทักษะกระบวนการ (Process) ครอบคลุมสมรรถนะ 5 ด้านและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ เพื่อมุ่งให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นต่อไป
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
1. กำหนดกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ (Strategies of Learning Management)
คำนึงถึงความสอดคล้องกับการนำสู่ผลตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ในหัวเรื่อง หน่วยการเรียนรู้และผลลัพธ์การเรียนรู้อื่นๆ ที่ระบุไว้ โดยมุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบสร้างความรู้ นำความรู้ไปใช้สร้างหรือผลิตผลงานใหม่ๆ ได้ด้วยตัวเอง ตามแนวทาง Active Learning ซึ่งได้แก่ การอภิปราย การลงมือปฏิบัติ การสอนผู้อื่นตามกรวยประสบการณ์ (Learning Pyramid) เน้นการรวบรวมข้อมูลผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์สร้างความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ด้วยเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้เรียนลงมือปฏิบัติ (Enactive) เสริมการเรียนรู้ด้วยรูปภาพ แผนภาพ แผนภูมิ (Iconic) และ สัญลักษณ์ (Symbolic) ซึ่งเหมาะกับสติปัญญาความสามารถของผู้เรียนทุกระดับ ทั้งเก่ง กลาง อ่อน ที่จะเรียนรู้ได้ทุกคน แล้วเลือกกลยุทธ์การสอนตามตัวแปรที่สำคัญ คือ
1) กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะสอน
2) กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
3) ระบุเวลาที่ใช้สอน
4) กำหนดขนาดกลุ่มผู้เรียนตามเนื้อหาและวิธีการ
5) ระบุประเภทของการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ตามรูปแบบการเรียนรู้ที่กำหนด
6) เตรียมความพร้อมด้านสื่ออุปกรณ์
7) กำหนดรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning: PBL)
2. ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน มี 6 ขั้นตอนดังนี้
2.1 ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน ครูให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำโครงงานก่อนการเรียนรู้ เนื่องจากการ
ทาโครงงานมีรูปแบบและขั้นตอนที่ชัดเจนและรัดกุม ดังนั้นผู้เรียนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้
เกี่ยวกับโครงงานไว้เป็นพื้นฐาน เพื่อใช้ในการปฏิบัติขณะทำงานโครงงานจริง ในขั้นแสวงหาความรู้
2.2 ขั้นกระตุ้นความสนใจ ครูเตรียมกิจกรรมที่จะกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน โดยต้องคิดหรือ
เตรียมกิจกรรมที่ดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ ใคร่รู้ ถึงความสนุกสนานในการทาโครงงานหรือกิจกรรมร่วมกัน โดย
กิจกรรมนั้นอาจเป็นกิจกรรมที่ครูกำหนดขึ้น หรืออาจเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีความสนใจต้องการจะทาอยู่แล้ว
ทั้งนี้ในการกระตุ้นของครูจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเสนอจากกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้ของครู
ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่ผู้เรียนอาศัยอยู่หรือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
2.3 ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ ครูให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มกันแสวงหาความรู้ ใช้กระบวนการกลุ่มในการวางแผน
ดาเนินกิจกรรม โดยนักเรียนเป็นผู้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมการเรียนของตนเอง โดยระดมความคิดและหารือ
แบ่งหน้าที่เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน หลังจากที่ได้ทราบหัวข้อสิ่งที่ตนเองต้องเรียนรู้ในภาคเรียนนั้นๆ
เรียบร้อยแล้ว
2.4 ขั้นแสวงหาความรู้ ในขั้นแสวงหาความรู้มีแนวทางปฏิบัติสาหรับผู้เรียนในการทำกิจกรรม
ดังนี้นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมโครงงานตามหัวข้อที่กลุ่มสนใจผู้เรียนปฏิบัติหน้าที่ของตนตามข้อตกลงของ
กลุ่ม พร้อมทั้งร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรม โดยขอคาปรึกษาจากครูเป็นระยะเมื่อมีข้อสงสัยหรือปัญหาเกิดขึ้น
ผู้เรียนร่วมกันเขียนรูปเล่ม สรุปรายงานจากโครงงานที่ตนปฏิบัติ
2.5 ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ ครูให้ผู้เรียนสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรม โดยครูใช้คำถาม ถามผู้เรียน
นำไปสู่การสรุปสิ่งที่เรียนรู้
2.6 ขั้นนำเสนอผลงาน ครูให้ผู้เรียนนำเสนอผลการเรียนรู้ โดยครูออกแบบกิจกรรมหรือจัดเวลาให้
ผู้เรียนได้เสนอสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ เพื่อให้เพื่อนร่วมชั้น และผู้เรียนอื่นๆในโรงเรียนได้ชมผลงานและเรียนรู้
กิจกรรมที่ผู้เรียนปฏิบัติในการทำโครงงาน
3. ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 75 ของผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไป และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากขึ้นไป
ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะการคิดวิเคราะห์และลงมือปฏิบัติ ทักษะการสอนหรือถ่ายทอดความรู้ และทักษะการใช้เทคโนโลยีศึกษาค้นคว้าพัฒนาตนเอง ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามตัวชี้วัด (Indicators)
ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจ
ผู้เรียนร้อยละ 75 มีค่าเฉลี่ยผลการเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไป
ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 3.85 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก
ผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน
วีดีทัศน์การสอน 1 คาบ 50 นาที
ผลลัพธ์ผู้เรียน
ระบบรดน้ำสปริงเกอร์อัตโนมัติ
1.นายนันทกร เทพวงษ์สา
2.นายสิธิสรณ์ ภูเยี่ยมจิต
3.นายพงษ์ศักดิ์ ศิริจันทร์
4. นายณัฐดนัย ขำเจริญ
5. นางสาวกัญญารัตน์ รักเพื่อน
ระบบเปิดปิดพัมลมฟาร์มไก่
รายชื่อสมาชิก
1.นางสาวกมลพรรณ กมลจิตร
2.นางสาววรัทยา พงษ์สุวรรณ
3.นางสาวฐิติชญา โสมอินทร์
4.นางสาวอันดารัตน์ พิลาหลง
5.นางสาวกัญญาลักษณ์ พรมอุนารถ
ระบบเปิดปิดไฟอัตโนมัติ
1.)นางสาวอัญญาดา เข็มสิริ
2.)นางวนิดา กนุวงศ์
3)นางสาวพนิดา ศรีดอนซ้าย
4.)นางสาวนิภาพร
5.)นางสาวชนาภา สมทิพย์